วางแผนการเงิน

นี่จึงเป็นเหตุผลที่คนเราจะต้องมีการวางแผนการเงิน เพื่อที่จะเปลี่ยนสถานะทางการเงินจากคนไม่มีเงินให้เป็นคนมีเงินและจากคนมีเงิน

เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงินเพื่อทุกคนในครอบครัว

เวลาที่คนเราไม่มีเงินเป็นธรรมดาที่จะต้องรู้สึกกลุ้มใจ บางคนทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อให้มีเงินเก็บออมไว้ใช้ พอมีเงินก็ต้องคิดต่อไปว่าจะนำเงินไปลงทุนอะไรเพื่อให้เป็นรายได้ที่งอกเงยขึ้นมาและไม่ให้ยอดเงินลดลงไปจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่คนเราจะต้องมีการวางแผนการเงิน เพื่อที่จะเปลี่ยนสถานะทางการเงินจากคนไม่มีเงินให้เป็นคนมีเงินและจากคนมีเงินให้เป็นคนที่มีเงินมากขึ้นนั้นเอง หลายคนสงสัยว่า ทำไมเราจะต้องวางแผนการเงินด้วย เราไม่ต้องทำอะไรกับเงินทองจะได้ไหม เพียงแค่มีหน้าที่หาแล้วนำมาเก็บออมเท่านั้นจะได้ไหม ก็เงินในสมุดเงินฝากของฉันมันก็มีเงินอยู่นี่นา ซึ่งหากใคร่ครวญดูอย่างรอบคอบแล้วการคิดแค่ผิวเผินแบบนั้นคงจะไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดีแน่ เราต้องมีเป้าหมายสำหรับการที่จะทำอะไรสักอย่าง จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ และวางแผนงานให้ละเอียดรอบคอบ แล้วจึงนำแผนงานนั้นไปปฏิบัติ ท้ายสุดต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติด้วยว่าแผนที่มีอยู่นั้นดีพอหรือยัง ถ้ายังก็สามารถปรับให้ดีขึ้น วันนี้เราจะมาดูว่าเพราะอะไรเราถึงต้องวางแผนการเงิน 5 เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงิน 1.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงิน ในชีวิตเราต้องเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่อาจคาดเดาได้ เราจึงไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงในทุกด้านของชีวิตได้ แต่เรามีหนทางที่รอไว้เพื่อที่เราจะสามารถป้องกันความเสี่ยงทางการเงินได้ ซึ่งเราทราบดีว่าบรรดาความเสี่ยงที่เราคุ้นเคย เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยกะทันหัน และความตาย ซึ่งเมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วย่อมมีผลกระทบกับการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 2.เพื่อปลดหนี้ คนที่ไม่มีหนี้ถือว่าเป็นคนโชคดีอย่างยิ่ง เพราะมีผู้คนจำนวนมากมีภาระหนี้สินจำนวนค่อนข้างมากเลยทีเดียว ทำให้เกิดความเครียดว่าจะใช้หนี้หมดเมื่อไร เช่น ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น ดังนั้น คนที่ไม่มีหนี้สินเลยจึงถือว่าเป็นคนโชคดีและประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และถ้าหากเขามีเงินเก็บด้วยแล้วก็ยิ่งดียิ่งขึ้นไปอีกเพราะเขาสามารถเปลี่ยนฐานะการเงินของตนเองได้จากคนที่มีหนี้กลายเป็นคนที่มีเงินออกได้ ซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะทำได้ง่าย ๆ หากวางแผนการเงินไม่ดี หากเราต้องการมีอิสระจากหนี้สิน เราจำเป็นต้องวางแผนในการกำจัดหนี้สินให้หมดสิ้น เพราะชีวิตของเรายังอีกยาวไกลจำเป็นต้องมีเงินใช้อย่างพอเพียงไปตลอดชีพ และเพื่อให้เรามั่นใจว่าเราจะมีเงินเพียงพอ เราก็ต้องคิดเรื่องการปลดหนี้ให้เร็วที่สุด 3.เรามีอายุยืนนานขึ้น ด้วยเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้คาดว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยในอนาคตจะยืนยาวออกไปอีก …

เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงินเพื่อทุกคนในครอบครัว Read More »

ในยุควิกฤตโควิด-19 ยิ่งสะท้อนให้เห็นภาพรวมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการช้อปปิ้งออนไลน์ เราจะเห็นได้จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาได้อย่างชัดเจน

ลดรายจ่ายในยุคช้อปปิ้งออนไลน์ เคล็ดลับวางแผนการเงิน

มนุษย์ในยุคปัจจุบัน มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากอดีต เรียกได้ว่า จากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะโลกยุคใหม่ เทคโนโลยี แห่งการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตของเรามากขึ้นแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงเข้านอนของทุกวัน ในยุควิกฤตโควิด-19 ยิ่งสะท้อนให้เห็นภาพรวมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการช้อปปิ้งออนไลน์ เราจะเห็นได้จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาได้อย่างชัดเจน ผลกระทบที่ตามมา คือ ปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม การ ช้อปปิ้งออนไลน์ ที่ขาดวินัยทางการเงิน ส่งผลให้เกิดหนี้ตามมานั่นเองเรามีเคล็ดลับทางการเงิน นอกจากจะช่วยเรื่องลดการใช้จ่ายเงินแล้ว ยังช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินที่ได้ผลจริง และป้องกันการเกิดหนี้สะสม เพื่อช่วยให้คนยุคใหม่แห่งการจับจ่ายยุคอินเทอร์เน็ต ควบคุมและปรับพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ เช็คด่วน! คุณมีพฤติกรรมความเสี่ยงจากการช้อปปิ้งออนไลน์หรือไม่? ในปัจจุบันจากภาวะความเครียดทางเศรษฐกิจของภาวะวิกฤตโควิด-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและสภาพจิตใจของคนโดยตรง เพราะเกิดเป็นความเครียดสะสม จากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การตกงาน ว่างงาน ลดเงินเดือน ไม่มีรายได้ ส่งผลต่อชีวิตและการเงิน ทำให้คนทำงานต้องอยู่บ้านมากขึ้น มีเวลาว่างมากขึ้นในการอยู่กับช่องทางทางสื่อออนไลน์หรือ Social Media ทำให้เกิดแรงจูงใจความตื่นตาตื่นใจกับสิ่งล่อตาล่อใจ ในการช้อปปิ้งออนไลน์บนโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อเกิดความเครียด ก็หาทางออกด้วยการซื้อของทางออนไลน์ ที่สะดวกรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการ ขาดความยับยั้งชั่งใจ นำไปสู่พฤติกรรมทางการเงินที่ขาดวินัย เช่น ใช้บัตรเครดิต ใช้เงินเกินตัว จนเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินตามมา ดังนั้น ลองเช็คตัวเองด่วนว่า คุณตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่ …

ลดรายจ่ายในยุคช้อปปิ้งออนไลน์ เคล็ดลับวางแผนการเงิน Read More »

เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ "เงินสด" หรือ "สินทรัพย์สภาพคล่อง" ควรมีไม่น้อยจนขาดแคลน และไม่มากจนเสียโอกาสลงทุน หากเราบริหารเงินสด

เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ

เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ “เงินสด” หรือ “สินทรัพย์สภาพคล่อง” ควรมีไม่น้อยจนขาดแคลน และไม่มากจนเสียโอกาสลงทุน หากเราบริหารเงินสดให้มีกินมีใช้ได้อย่างเพียงพอ นำส่วนที่เหลือไปต่อยอดให้เติบโต ปลายทางจะนำเราไปสู่การใช้ชีวิตที่ “เงิน” ไม่ใช่เงื่อนไขอีกต่อไป ทำไมเราถึงต้องบริหารเงินสด เราต้องบริหารเงินสดด้วยเหตุผลหลัก 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้อย่างเพียงพอ อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ หรือถ้าเป็นมนุษย์เดือนก็ควรจะให้อยู่ได้ครบ 1 เดือน 2. ไว้สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉิน อย่างน้อย 3-6 เดือน เหตุการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ไม่บอกล่วงหน้า บ่อยครั้งที่เหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ (ด้านสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน) 3. เพื่อสะสมไว้ซื้อสินค้ามูลค่าสูงในอนาคต เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น หรืออาจเป็นจังหวะการรอลงทุนในเวลาที่เหมาะสม ลักษณะสินทรัพย์ที่ใช้บริหารสภาพคล่อง เงินสดเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด แต่ก็มีสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพคล่องเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับเงินสด โดยสินทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้บริหารสภาพคล่อง ต้องมีลักษณะครบทั้ง 3 ข้อ ต่อไปนี้ • แปลงเป็นเงินสดได้ง่าย• อัตราผลตอบแทนต่ำ• ความเสี่ยงต่ำ สินทรัพย์สภาพคล่องสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย …

เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ Read More »

วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมองในหลายมิติที่มากขึ้น กับ 4 สิ่งที่ไม่ควรเสี่ยง ในการวางแผนการเงิน แม้ว่าคุณจะต้องเจอกับความไม่แน่นอนอีกกี่ครั้งก็ตาม

การวางแผนการเงิน และ 4 สิ่งที่ไม่ควรเสี่ยง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเราต่างต้องเจอกับความเสี่ยงหลายๆอย่างที่ชัดขึ้น ตั้งแต่ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ความเสี่ยงที่อาจจะตกงาน และยาวไปถึงความเสี่ยงเรื่องเงิน ที่แม้การเก็บเงินใส่บัญชีไว้เฉยๆก็ถูกเงินเฟ้อแอบดูดมูลค่าแท้จริงออกไป ซึ่งก็ทำให้หลายคนพยายามคิดหาวิธีในการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงของตัวเองลง แต่หากความกลัวเป็นสิ่งเดียวที่คุณมี นั่นอาจนำมาสู่วิธีจัดการแบบผิดๆ วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมองในหลายมิติที่มากขึ้น กับ 4 สิ่งที่ไม่ควรเสี่ยง ในการวางแผนการเงิน แม้ว่าคุณจะต้องเจอกับความไม่แน่นอนอีกกี่ครั้งก็ตาม 4 สิ่งที่ไม่ควรเสี่ยงในการวางแผนการเงิน 1.เสี่ยงแบบหมดหน้าตัก ในช่วงที่ประเด็นเงินเฟ้อร้อนแรง อีกฝั่งที่ร้อนแรงไม่แพ้กัน คือ เรื่องการลงทุน ซึ่งแน่นอนครับว่าผลตอบแทนจากการลงทุนช่วยให้คุณสามารถชนะเงินเฟ้อได้ แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะลืม คือ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ผลตอบแทนที่ดีแลกมาด้วยความเสี่ยงเสมอ เมื่อคุณคาดหวังผลตอบแทนสูงเท่าไหร่ ความเสี่ยงจะวิ่งล้อตามไปด้วยเมื่อไม่มีอะไรแน่นอน 100% การเสี่ยงแบบมากเกินไป มีเงินเท่าไหร่ใส่หมดหน้าตัก และที่สำคัญไม่มีเวลามากพอให้เงินก้อนนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้ กลายเป็นความเสี่ยงครั้งสำคัญที่ทำให้หลายๆคนที่วางแผนไม่ดี อยากจะชนะเงินเฟ้อในระยะสั้น 3-5% กลับขาดสภาพคล่องทางการเงิน เงินที่ลงทุนไว้หากขาดทุนจะถอนก็ไม่ได้ซึ่งสุดท้ายอาจจะวนกลับมาสู้วัฏจักรหนี้ดอกเบี้ยสูง 2.เสี่ยงกับอนาคตข้างหน้ามากเกินไป ยิ่งความไม่แน่นอนอยู่ใกล้ตัวเรามากเท่าไหร่ ความกังวลใจจะเพิ่มตามไปด้วย บางคนอาจจะรู้สึกว่า ขอทำงานเก็บเงินเยอะๆ แล้วค่อยออกไปใช้ชีวิต ขณะที่บางคนขอใช้ชีวิตให้เต็มที่ก่อนแล้วค่อยเก็บเงิน ไม่ว่าคุณจะเลือกทางไหน สุดท้ายเราแค่อยากใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ แต่ต้องยอมรับว่า หลายๆเป้าหมาย หรือบางกิจกรรม มีช่วงเวลาสนุกของมันเองดังนั้น คุณอาจจะไม่จำเป็นจะต้องเลือกก็ได้ว่าคุณอยากเก็บเงินก่อนหรือขอใช้ชีวิตก่อน แต่คุณสามารถใช้การวางแผนการเงินเข้ามาช่วยได้ คุณสามารถทำงาน แบ่งเงินบางส่วนไปใช้ชีวิต แบ่งบางส่วนทำตามเป้าหมาย …

การวางแผนการเงิน และ 4 สิ่งที่ไม่ควรเสี่ยง Read More »

ควรเริ่มวางแผนเกษียนเมื่อไหร่ ? คำถามในใจของมนุษย์วัยทำงานที่มองการณ์ไกล เพราะท้ายที่สุดเส้นทางชีวิตทำงานก็ย่อมสิ้นสุดลงท่ีการเกษียณอายุ

วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชีวิตมั่นคงทางการเงิน

ควรเริ่มวางแผนเกษียนเมื่อไหร่ ? คำถามในใจของมนุษย์วัยทำงานที่มองการณ์ไกล เพราะท้ายที่สุดเส้นทางชีวิตทำงานก็ย่อมสิ้นสุดลงที่การเกษียณอายุ การสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองจึงต้องเริ่มตั้งแต่การคำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ รู้ตัวเลขเงินเก็บที่ควรมี เพื่อเตรียมพร้อมออมเงินก่อนจะลงทุนให้ทรัพย์สินงอกเงย เพื่อให้สามารถวางแผนล่วงหน้าได้อย่างรอบคอบก่อนสาย คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณเพื่อวางแผนการออม ความมั่นคงทางการเงินสร้างได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องมีเงินสะสมเท่าไหร่จึงจะเรียกได้ว่ามั่นคง จะรู้ได้ก็โดยการสำรวจตัวเราว่าในปัจจุบันมีจำนวนค่าใช้จ่ายมากน้อยอย่างไร เพื่อให้ประเมินได้ว่าในยามแก่ตัวไปจะมียอดค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพื่อตั้งเป้าหมายในการออมเงิน ดังเช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีพ ค่าใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบายและความสุขของชีวิต ค่าดูแลเลี้ยงดูบุตรหลาน ค่ารักษาพยาบาล ค่าชำระหนี้สินที่ติดค้าง วิธีคำนวณเงินเก็บที่ควรมีก่อนเกษียณ เกษียนไปแล้วจะมีเงินพอใช้แค่ไหน คำนวณได้โดยวิธีต่อไปนี้ เงินเก็บที่ควรมีก่อนเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน X 12 เดือน X จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่เช่น ตั้งใจให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณคิดเป็น 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน (ขึ้นอยู่กับบุคคล) โดยปัจจุบันมีการใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 35,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท เท่ากับจะมีค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณทั้งหมดราวๆ 210,000 บาท เมื่อคิดแล้วเราอาจมีชีวิตอยู่หลังเกษียณได้ราวๆ 20 ปี เงินเก็บที่เราควรมีก่อนเกษียณจึงอยู่ที่ 6,000,000 บาท เห็นตัวเลขออกมาแล้วอาจมองดูเป็นจำนวนเงินที่มากโข นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมยิ่งเริ่มออมเงินไวเท่าไหร่ยิ่งสร้างความมั่นคงเป็นกำไรชีวิตได้ไวเท่านั้น อยากเกษียณไปแล้วมีเงินใช้ไม่ลำบาก เริ่มต้นที่การออม ลำพังเงินออมที่เก็บหอมรอบริบอาจไม่พอใช้ตลอดไปในช่วงวัยเกษียณ …

วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชีวิตมั่นคงทางการเงิน Read More »

เคล็ดลับวางแผน จากเงินพอใช้เป็นเงินเหลือใช้ การบริหารการเงินส่วนบุคคล หากสามารถบริหารให้ดีผลที่ได้ไม่ใช่เพียงการมีรายได้พอสำหรับจ่ายหนี้สิน

เคล็ดลับวางแผน จากเงินพอใช้เป็นเงินเหลือใช้

เคล็ดลับวางแผน จากเงินพอใช้เป็นเงินเหลือใช้ การบริหารการเงินส่วนบุคคล หากสามารถบริหารให้ดีผลที่ได้ไม่ใช่เพียงการมีรายได้พอสำหรับจ่ายหนี้สินและใช้จ่ายในแต่ละวันเท่านั้น แต่คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในด้านการเงินในชีวิตจะมีขึ้นได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อสามารถบริหารการเงินให้ปลอดหนี้สิน มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายได้อย่างไม่ขัดสนและมีเหลือสำหรับการออมและลงทุนเพื่ออนาคตด้วย ทว่าหลาย ๆ คนยังคงไม่ผ่านแม้แต่ขั้นแรกของการหาเงินชำระหนี้ต่าง ๆ ในแต่ละวัน จึงต้องกลับมาวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เริ่มแก้ที่ต้นเหตุทีละเปาะแล้วจึงจะสามารถปลดหนี้และตั้งตัวได้ เคล็ดลับวางแผนการเงินจากติดลบเป็นศูนย์และเป็นบวก วิเคราะห์ที่มาของรายจ่ายหรือหนี้ สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ ต้องหันมาจริงจังกับรายละเอียดหนี้ที่มีและรายจ่ายต่าง ๆ กันก่อนว่า ในการบริหารเงินส่วนตัวและครอบครัวที่เรารับผิดชอบอยู่ มีหนี้ก้อนใดจากทางใดบ้าง และมีรายจ่ายประจำ รายจ่ายปลีกย่อยอะไรบ้าง เริ่มจากหนี้ มีอยู่ 2 ชนิดก็คือ หนี้ที่จำเป็นในชีวิตและหนี้ที่ฟุ่มเฟือย หนี้ที่จำเป็นในชีวิตก็ได้แก่หนี้ที่เราจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายจริง ๆ เช่นการกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย รถยนต์ ค่าทุนการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น หนี้ในส่วนนี้นับว่าไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ยกเว้นแต่ว่าเป็นหนี้ที่เกินตัว เช่นกู้เงินซื้อบ้านหลังใหญ่ราคาแพงเกินความเป็นจริงทำให้เกิดภาระการผ่อนสูงเกินจะแบกรับ กู้ซื้อรถยนต์ราคาแพงเกินไปหรือหลายคันเกินไป ในกรณีนี้เราต้องลดทอนและปรับเปลี่ยนถ้าต้องการตั้งตัวให้ได้ไว ๆ อาจจะไปซื้อบ้านหลังใหม่ที่เล็กลง ราคาถูกลง แต่สวยงามน่าอยู่ไม่แพ้กัน ทำให้ลดเงินผ่อนลงมีเงินมากขึ้นในระยะยาว รถยนต์คันเล็กลง เป็นต้น หนี้ฟุ่มเฟือยสำหรับหนี้ฟุ่มเฟือยก็เช่น การเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ใช้จับจ่ายซื้อของทั่วไปมากจนเกิดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้มีเงินจ่ายเฉพาะขั้นต่ำ ถ้าเป็นเข่นนี้ยากที่จะผ่อนหมดแล้วคงไม่สามารถปลดภาระหนี้ได้ง่าย ๆ ไม่มีวันมีเงินเก็บได้ วิธีแก้ไขบริหารใหม่ก็คือ ลดรายจ่ายส่วนไม่จำเป็นลง เช่นการสังสรรค์กับเพื่อน …

เคล็ดลับวางแผน จากเงินพอใช้เป็นเงินเหลือใช้ Read More »

ปัญหาหนึ่งเดียวที่นักธุรกิจมือใหม่ส่วนมากมักประสบมากที่สุด นั่นคือ การบริหารเงิน ซึ่งเงินปัจจัยสำคัญของการอยู่รอด และสามารถนำ

วางแผนบริหารเงินแบบมืออาชีพ

ปัญหาหนึ่งเดียวที่นักธุรกิจมือใหม่ส่วนมากมักประสบมากที่สุด นั่นคือ การบริหารเงิน ซึ่งเงินปัจจัยสำคัญของการอยู่รอด และสามารถนำพาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ดังนั้น นักธุรกิจมือใหม่ท่านใดไม่มีการบริหารเงิน หรือไม่มีการเตรียมพร้อมรับมืออย่างรอบคอบแล้วล่ะก็ อาจจะมีสิทธิขาดทุน และไม่สามารถนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ ในเมื่อปัญหาการเงินจะต้องอาศัยประสบการณ์เข้าช่วย แต่ด้วยเงินทุนที่มีอย่างจำกัดนี้อาจจะทำให้คุณหมดโอกาสที่จะผิดพลาด เพื่อให้คุณมีความพร้อมและสามารถรับมือกับปัญหาเล่านี้ได้อย่างมืออาชีพ วันนี้เราก็มีเทคนิคการบริหารเงินมาแนะนำกันค่ะ แผนบริหารเงินแบบมืออาชีพ สำหรับนักธุรกิจ SME เรื่องกระแสเงินสด คุณต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การทำธุรกิจให้สำเร็จได้นั้น คุณจะต้องมีความรู้เรื่องของกระแสเงินสดให้ลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงแค่พื้นฐานเพราะนั้นอาจไม่ช่วยอะไร สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ที่ไม่มีความเคลื่อนไหวทางการเงินมากมายนัก อาจจะทำให้มองข้างกระแสเงินสดเหล่านี้ไปได้ ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ คุณจะต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระแสเงินสดให้มาก ๆสิ่งหนึ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับกระแสเงินสดก็คือ เงินสดที่หมุนเวียนในระบบ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างคล่องตัว ซึ่งกระแสเงินสดนั้นไม่ใช่ กำไรหรือขาดทุน แต่เป็นความคล่องตัวของเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ ดังนั้น คุณต้องศึกษาเกี่ยวกับกระแสเงินสดให้มากกว่านี้ เพื่อสร้างฐานให้ธุรกิจมั่นคงขึ้น รูปแบบของรายได้ที่เข้ามา อาจไม่ใช่เงินสดเพียงอย่างเดียว รายได้ของธุรกิจอาจจะไม่ได้รับเป็นเงินสดเข้ามาเพียงอย่างเดียว นั่นอาจหมายถึง ลูกหนี้ ที่สามารถเรียกเก็บเงินในอนาคตได้ เมื่อคุณเข้าใจถึงกระแสเงินสดอย่างลึกซึ้งแล้ว คุณก็สามารถวางแผนรับมือกับรูปแบบของรายได้ที่เข้ามาได้ กระแสเงินสด คือเงินสดที่หมุนเวียนในระบบ สามารถจัดการและบริหารได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลา หรือต้องทำตามเงื่อนไข แต่ลูกหนี้ถึงจะเป็นรายได้ที่เข้ามาแต่คุณก็ยังไม่เห็นเงินสดเข้ามาในระบบ ต้องรอเวลาครบกำหนด ต้องทำตามเงื่อนไข ก่อนที่จะได้รับเงินสดมาบริหารจัดการ รูปแบบของรายได้นั้น …

วางแผนบริหารเงินแบบมืออาชีพ Read More »

นี่จึงเป็นเหตุผลที่คนเราจะต้องมีการวางแผนการเงิน เพื่อที่จะเปลี่ยนสถานะทางการเงินจากคนไม่มีเงินให้เป็นคนมีเงินและจากคนมีเงิน

เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงินเพื่อทุกคนในครอบครัว

เวลาที่คนเราไม่มีเงินเป็นธรรมดาที่จะต้องรู้สึกกลุ้มใจ บางคนทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อให้มีเงินเก็บออมไว้ใช้ พอมีเงินก็ต้องคิดต่อไปว่าจะนำเงินไปลงทุนอะไรเพื่อให้เป็นรายได้ที่งอกเงยขึ้นมาและไม่ให้ยอดเงินลดลงไปจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่คนเราจะต้องมีการวางแผนการเงิน เพื่อที่จะเปลี่ยนสถานะทางการเงินจากคนไม่มีเงินให้เป็นคนมีเงินและจากคนมีเงินให้เป็นคนที่มีเงินมากขึ้นนั้นเอง หลายคนสงสัยว่า ทำไมเราจะต้องวางแผนการเงินด้วย เราไม่ต้องทำอะไรกับเงินทองจะได้ไหม เพียงแค่มีหน้าที่หาแล้วนำมาเก็บออมเท่านั้นจะได้ไหม ก็เงินในสมุดเงินฝากของฉันมันก็มีเงินอยู่นี่นา ซึ่งหากใคร่ครวญดูอย่างรอบคอบแล้วการคิดแค่ผิวเผินแบบนั้นคงจะไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดีแน่ เราต้องมีเป้าหมายสำหรับการที่จะทำอะไรสักอย่าง จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ และวางแผนงานให้ละเอียดรอบคอบ แล้วจึงนำแผนงานนั้นไปปฏิบัติ ท้ายสุดต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติด้วยว่าแผนที่มีอยู่นั้นดีพอหรือยัง ถ้ายังก็สามารถปรับให้ดีขึ้น วันนี้เราจะมาดูว่าเพราะอะไรเราถึงต้องวางแผนการเงิน 5 เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงิน 1.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงิน ในชีวิตเราต้องเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่อาจคาดเดาได้ เราจึงไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงในทุกด้านของชีวิตได้ แต่เรามีหนทางที่รอไว้เพื่อที่เราจะสามารถป้องกันความเสี่ยงทางการเงินได้ ซึ่งเราทราบดีว่าบรรดาความเสี่ยงที่เราคุ้นเคย เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยกะทันหัน และความตาย ซึ่งเมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วย่อมมีผลกระทบกับการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 2.เพื่อปลดหนี้ คนที่ไม่มีหนี้ถือว่าเป็นคนโชคดีอย่างยิ่ง เพราะมีผู้คนจำนวนมากมีภาระหนี้สินจำนวนค่อนข้างมากเลยทีเดียว ทำให้เกิดความเครียดว่าจะใช้หนี้หมดเมื่อไร เช่น ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น ดังนั้น คนที่ไม่มีหนี้สินเลยจึงถือว่าเป็นคนโชคดีและประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และถ้าหากเขามีเงินเก็บด้วยแล้วก็ยิ่งดียิ่งขึ้นไปอีกเพราะเขาสามารถเปลี่ยนฐานะการเงินของตนเองได้จากคนที่มีหนี้กลายเป็นคนที่มีเงินออกได้ ซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะทำได้ง่าย ๆ หากวางแผนการเงินไม่ดี หากเราต้องการมีอิสระจากหนี้สิน เราจำเป็นต้องวางแผนในการกำจัดหนี้สินให้หมดสิ้น เพราะชีวิตของเรายังอีกยาวไกลจำเป็นต้องมีเงินใช้อย่างพอเพียงไปตลอดชีพ และเพื่อให้เรามั่นใจว่าเราจะมีเงินเพียงพอ เราก็ต้องคิดเรื่องการปลดหนี้ให้เร็วที่สุด 3.เรามีอายุยืนนานขึ้น ด้วยเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้คาดว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยในอนาคตจะยืนยาวออกไปอีก …

เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงินเพื่อทุกคนในครอบครัว Read More »

ก่อนเราจะออกรถยนต์เราต้องปรึกษากับเจ้าหน้าที่ทางธนาคาร และพิจารณาเกี่ยวกับการผ่อนรถ พร้อมวางแผนว่าการออกรถของเรานั้นจะต้องทำอย่างไร

ผ่อนรถ คำนวณ วางแผนอย่างไร? ให้ผ่อนสำเร็จได้จริง

ยานพาหนะนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรามากขึ้นกว่าเดิม เราสามารถไปไหนมาไหนก็ได้ตามความต้องการทุกเวลา บางคนก็สามารถใช้ยานพาหนะในการเป็นเครื่องมือทำมาหากินได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงมีความฝันว่าอยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเองสักคันหนึ่ง แต่รถยนต์นั้นเป็นสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับราคาแพง ดังนั้นก่อนเราจะออกรถยนต์เราต้องปรึกษากับเจ้าหน้าที่ทางธนาคาร และพิจารณาเกี่ยวกับการผ่อนรถ พร้อมวางแผนว่าการออกรถของเรานั้นจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไม่กระทบกับสภาพคล่องทางการเงิน และเสี่ยงจะโดนยึดรถในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ เราจึงจะพาทุกคนมาดูกันว่า ก่อนออกรถคันหนึ่งมีอะไรที่เราควรรู้ ผ่อนรถ คำนวณ วางแผนอย่างไร เพื่อพิจารณาว่าเรามีความพร้อมในการออกรถหรือไม่ ผ่อนรถ คำนวณ วางแผนอย่างไร? สูตรคำนวณการผ่อนรถยนต์มี ดังนี้ ราคาเต็มของรถยนต์ – จำนวนเงินดาวน์ = ยอดไฟแนนซ์ ยอดไฟแนนซ์ x เปอร์เซ็นต์อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเปอร์เซ็นต์อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแต่ละแห่งก็จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและระยะเวลาในการผ่อนชำระ ยอดรวมดอกเบี้ยและยอดไฟแนนซ์ / จำนวนปีที่เราต้องการผ่อน = จำนวนดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายทั้งหมด ดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่าย + ยอดไฟแนนซ์ = ยอดหนี้ทั้งหมดที่ต้องจ่ายจริง ยอดหนี้ทั้งหมดที่ต้องจ่ายจริง / จำนวนงวดที่ผ่อน = ค่างวดชำระที่เราต้องจ่ายในแต่ละเดือน ตัวอย่าง เราต้องการจะซื้อรถราคา 1 ล้านบาทโดยวางเงินดาวน์ 20% ผ่อนชำระเป็นเวลา 4 ปีทั้งหมด 48 …

ผ่อนรถ คำนวณ วางแผนอย่างไร? ให้ผ่อนสำเร็จได้จริง Read More »

บัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมหมายถึงบัตรเครดิตที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมประจำปีใดๆ บางสถาบันการเงินมุ่งเน้นให้บริการบัตรเครดิต

บัตรเครดิตแบงก์ไหนดี? ฟรีค่าธรรมเนียม

บัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมหมายถึงบัตรเครดิตที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมประจำปีใดๆ บางสถาบันการเงินมุ่งเน้นให้บริการบัตรเครดิตเช่นนี้ให้ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในขณะที่บางธนาคารอาจมีข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับบัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมเมื่อคุณพิจารณาใช้บัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียม คุณควรทราบว่ามีความแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร และคุณควรอ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขให้ละเอียดก่อนการสมัครใช้บัตรเครดิต โปรโมชั่นค่าธรรมเนียมรายปีฟรีในปีแรกบางสถาบันการเงินอาจมีโปรโมชั่นเด่นที่เสนอค่าธรรมเนียมรายปีฟรีในปีแรก หากคุณเป็นผู้ใช้งานบัตรเครดิตในปีแรกโดยไม่มีค่าธรรมเนียม จะเป็นประโยชน์ให้คุณประหยัดรายจ่ายในการใช้บัตรเครดิตได้ ฟรีถาวรหากผู้ใช้งานบัตรเครดิตบริการหรือสินค้าบริการที่กำหนดบางสถาบันการเงินอาจมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่า หากคุณใช้บัตรเครดิตบริการหรือสินค้าบริการที่กำหนดเท่านั้น ค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิตจะถูกยกเว้นในอีกทั้งหมดหรือในช่วงเวลาที่กำหนด คุณสมบัติของบัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมมักมีคุณสมบัติที่น่าสนใจต่อผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์แก่คุณได้ในหลายด้านดังนี้ : 1. การประหยัดเงินในค่าธรรมเนียมด้วยค่าธรรมเนียมรายปีฟรีในปีแรกหรือค่าธรรมเนียมที่ถูกยกเว้นในบางรายการบริการ คุณสามารถประหยัดเงินได้มากขึ้น และใช้เงินที่ประหยัดได้อย่างสมควรในเรื่องอื่นๆ 2. ความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งการมีบัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมช่วยให้คุณสามารถช้อปปิ้งออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย คุณไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นในการทำธุรกรรมออนไลน์ 3. สิทธิประโยชน์และส่วนลดพิเศษบัตรเครดิตบางประเภทอาจมีสิทธิประโยชน์และส่วนลดพิเศษที่สำคัญ ซึ่งสามารถใช้เพื่อประหยัดเงินในการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่คุณต้องการ 4. การสะสมแต้มและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมบางบัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมยังมีโปรแกรมสะสมแต้มและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้งาน ทำให้คุณสามารถใช้แต้มสะสมเพื่อแลกของรางวัลหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆได้ 5 บัตรเครดิตยอดฮิต ฟรีค่าธรรมเนียม!! 1. KTC VISA PLATINUMใช้ชีวิตให้สนุกในทุกวัน บัตรเครดิต KTC สมัครง่าย ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี มีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาท ขึ้นไป/เดือน (รายได้รวมเริ่มต้น 50,000 บาท สำหรับชาวต่างชาติ)2. Krungsri JCB Platinumไปให้สุด…ไม่หยุดใช้ชีวิต เก็บค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตรายปี ในกรณีที่บัญชีของสมาชิกไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลาติดต่อกันตั้งแต่ 12 …

บัตรเครดิตแบงก์ไหนดี? ฟรีค่าธรรมเนียม Read More »

Scroll to Top