3 นวัตกรรมทางการเงินเพื่อผู้สูงอายุ

3 นวัตกรรมทางการเงินเพื่อผู้สูงอายุ

สถิติของกรมกิจการผู้สูงอายุพบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 18.3% ของประชากรทั้งหมด ขณะเดียวกันหลายประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น อิตาลี สวีเดน และเยอรมนี เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งหลายประเทศได้พัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยหนึ่งในนั้นคือการสนับสนุนให้เกิดการเงินที่ยั่งยืน นวัตกรรมทางการเงินที่รองรับความต้องการของผู้สูงอายุที่เห็นในปัจจุบัน 1) ด้านการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ระบบบำนาญหรือระบบรายได้หลังเกษียณ เป็นสวัสดิการที่สำคัญสำหรับผู้ที่เกษียณอายุที่จะทำให้มีรายรับที่เพียงพอในการใช้ในชีวิตประจำวันอย่างยั่งยืน สถาบันให้คำปรึกษาด้านแรงงาน Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI) ได้จัดอันดับระบบบำเหน็จบำนาญของ 44 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศที่ได้คะแนนภาพรวมระดับดีเยี่ยม ได้แก่ ไอซ์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ส่วนประเทศที่มีระบบบำนาญดีที่สุดในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ 2) ด้านการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อลดภาระทางการเงิน ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากติดอันดับโลกก็มีมาตรการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ เช่น ประกันการดูแลระยะยาว ที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทุกคน เมื่อผู้สูงอายุลงทะเบียนแล้วจะมีผู้ดูแลเข้ามาให้คำแนะนำและช่วยวางแผน โดยพิจารณาจากงบประมาณส่วนตัวของแต่ละคน โดยรัฐบาลจะเข้ามาสนับสนุนงบที่ได้จากการเก็บภาษีเพิ่มเติม แล้วส่งผ่านความช่วยเหลือไปทางระบบสวัสดิการสังคมเพื่อนำไปดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงมีบริการจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน …

3 นวัตกรรมทางการเงินเพื่อผู้สูงอายุ Read More »