เงินสดขาดมือ

เงินสดขาดมือ จุดเริ่มต้นของหายนะทางการเงิน

ปัญหาการเงินยอดฮิตที่อันตรายและถูกมองข้ามมากที่สุดก็คือเรื่องของ “สภาพคล่อง” ซึ่งถ้าเกิดบริหารได้ไม่ดี อาจจะทำให้มีปัญหาการเงินได้ยาว ๆ อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราสามารถบริหารเงินสดได้สะดวกขึ้น คือ การยืดระยะเวลาจ่าย อย่างเช่น การผ่อน 0% 3 เดือน 6 เดือน เพราะจะช่วยทำให้เราผ่อนจ่ายเป็นก้อนเล็ก ๆ ช่วยให้เก็บสภาพคล่องไว้เผื่อใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินได้
หลาย ๆ คนที่มีประสบการณ์เป็นหนี้วนลูป มักจะมีจุดเริ่มต้นเดียวกัน คือ “มีปัญหาเงินสดขาดมือหรือขาดสภาพคล่อง” แล้วการเพิ่มรายได้หรือลงทุนเป็นสิ่งสำคัญ แต่การบริหารเงินให้หมุนสบาย ใช้จ่ายอย่างคล่องมือนั้นสำคัญยิ่งกว่า เพราะถ้าหากวันไหนสะดุดขึ้นมา อาจนำมาสู่หายนะทางการเงินได้ ดังนั้น เรื่องของสภาพคล่อง จึงควรเตรียมรับมือก่อน บริหารจัดการเงินสดอย่างไรไม่ให้ขาดมือ ? เราสรุปมาให้สั้น ๆ แล้ว ! และสามารถเตรียมความพร้อมเรื่องสภาพคล่องก่อนใคร
อยากให้ทุกคนลองคิดตามเหตุการณ์ที่เรากำลังจะยกตัวอย่างให้ฟังกันนะ
สมมติว่าอยู่ ๆ ก็เกิดเหตุไม่คาดฝัน ที่ทำให้เรามีรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อย่างเช่น เข้าโรงพยาบาลนาน จนทำให้สวัสดิการที่มีอยู่ไม่เพียงพอ หรือเกิดอุบัติเหตุใหญ่ ทำให้มีรายจ่ายก้อนโตอย่างไม่คาดคิด
แล้วตอนนั้นเราไม่มี “เงินสด” เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเลย จะเกิดอะไรขึ้น…
แน่นอนว่าก็ต้องเป็นการหาหยิบยืมจากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าสถาบันการเงิน หรือแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ ที่ก็ล้วนแล้วแต่ตามมาด้วยภาระดอกเบี้ยที่หนักอึ้ง
แล้วในกรณีที่เลวร้ายที่สุดถ้าหากรายจ่ายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเงินจำนวนมาก จนทำให้เราต้องกู้ยืมเงินก้อนใหญ่ ดอกเบี้ยก็จะยิ่งเยอะ และนำมาสู่วัฏจักรการเป็นหนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนแทบหาทางออกได้ยาก

2 วิธีการเตรียมรับมือปัญหาเงินสดขาดมือ

1.เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินอย่างพอเหมาะ

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยรับมือเหตุเร่งด่วนที่อาจนำมาสู่ปัญหาสภาพคล่องได้ คือการเตรียม “เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash)” ไว้อย่างพอเหมาะ โดยทั่วไปแนะนำว่าควรมีอย่างน้อย 6 เดือนของค่าใช้จ่าย อย่างเช่น มีค่าเช่าบ้าน และค่ากินอยู่เดือนหนึ่งประมาณ 15,000 บาท ดังนั้น ก็ควรต้องมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย ๆ 90,000 บาท แต่ไม่ต้องสำรองมากไป เพราะต้องอย่าลืมว่าเงินสำรองฉุกเฉินเป็นแค่เงินที่เน้นสภาพคล่องดังนั้น ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยที่จะได้จากเงินก้อนนี้นั้นจะน้อยนิดมาก ๆ ดังนั้นควรสำรองสูงสุดที่ 12 เดือนของค่าใช้จ่ายก็พอ

2.เตรียมแหล่งเงินกู้อย่างเหมาะสม

วิธีการนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อย ๆ แต่บอกเลยว่าถ้าได้ลองทำตามจริง ๆ จัง ๆ สามารถช่วยชีวิตใครมาหลายคนแล้ว นั่นก็คือ การเตรียม “แหล่งเงินกู้” ที่เหมาะสม กู้ง่าย และดอกเบี้ยไม่สูงมากจนเกินไป เผื่อเอาไว้ในกรณีที่ไม่คาดฝัน เพื่อป้องกันไม่ให้ในวันที่ชีวิตสะดุดเราไม่ต้องโดนดอกเบี้ยที่สูงจนเกินความจำเป็น

“ยืดระยะเวลาจ่าย” เทคนิคเพิ่มสภาพคล่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้

อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราสามารถบริหารเงินสดได้สะดวกขึ้น คือ การยืดระยะเวลาจ่าย อย่างเช่น การผ่อน 0% 3 เดือน 6 เดือน เพราะจะช่วยทำให้เราผ่อนจ่ายเป็นก้อนเล็ก ๆ ช่วยให้เก็บสภาพคล่องไว้เผื่อใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินได้
ซึ่งเดี๋ยวนี้เวลาที่เราไปซื้อสินค้าหรือเวลาไปใช้บริการ ส่วนใหญ่ก็มักจะมีโปรบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดที่ร่วมรายการผ่อน 0% ให้อยู่เสมอ จึงทำให้เทคนิคการ “ยืดระยะเวลาจ่าย” เป็นวิธีการที่ง่าย และเป็นที่นิยมอย่างมาก
แต่ไม่ใช่ว่าค่าใช้จ่ายทุกอย่างจะสามารถผ่อน 0% ได้หมดนะ เพราะโดยทั่วไปแล้ว พวกยอดชำระเล็ก ๆ อย่างเช่น ของกินของใช้ในซูเปอร์มาร์เก็ต ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร ฯลฯ มักจะไม่ร่วมรายการสักเท่าไหร่ ทำให้เทคนิคการยืดระยะเวลาจ่ายจึงสามารถใช้ได้กับพวกสินค้าราคาสูงอย่างพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เท่านั้น
ตอนนี้ ทีทีบี ก็เลยมีบริการใหม่ที่ทำให้ชีวิตง่ายกว่านั้น ช่วยให้ไม่ต้องไปคอยยืนอ่านโปรโมชันกันให้ปวดหัว เพราะไม่ว่ายอดไหน ๆ ก็ผ่อน 0% ได้ !
โดยปกติแล้วเวลาที่รูดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ทางธนาคารจะสำรองจ่ายให้กับร้านค้าออกไปก่อน แล้วจากนั้นก็จะมาเรียกเก็บกับลูกค้าในงวดบิลถัดไป
เรียบเรียงบทความโดย boarddung.com
Scroll to Top