เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ "เงินสด" หรือ "สินทรัพย์สภาพคล่อง" ควรมีไม่น้อยจนขาดแคลน และไม่มากจนเสียโอกาสลงทุน หากเราบริหารเงินสด

เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ

เทคนิคบริหารเงินสดอย่างมีคุณภาพ “เงินสด” หรือ “สินทรัพย์สภาพคล่อง” ควรมีไม่น้อยจนขาดแคลน และไม่มากจนเสียโอกาสลงทุน หากเราบริหารเงินสดให้มีกินมีใช้ได้อย่างเพียงพอ นำส่วนที่เหลือไปต่อยอดให้เติบโต ปลายทางจะนำเราไปสู่การใช้ชีวิตที่ “เงิน” ไม่ใช่เงื่อนไขอีกต่อไป

ทำไมเราถึงต้องบริหารเงินสด

เราต้องบริหารเงินสดด้วยเหตุผลหลัก 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. เพื่อให้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้อย่างเพียงพอ อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ หรือถ้าเป็นมนุษย์เดือนก็ควรจะให้อยู่ได้ครบ 1 เดือน

2. ไว้สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉิน อย่างน้อย 3-6 เดือน เหตุการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ไม่บอกล่วงหน้า บ่อยครั้งที่เหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ (ด้านสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน)

3. เพื่อสะสมไว้ซื้อสินค้ามูลค่าสูงในอนาคต เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น หรืออาจเป็นจังหวะการรอลงทุนในเวลาที่เหมาะสม

ลักษณะสินทรัพย์ที่ใช้บริหารสภาพคล่อง

เงินสดเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด แต่ก็มีสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพคล่องเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับเงินสด โดยสินทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้บริหารสภาพคล่อง ต้องมีลักษณะครบทั้ง 3 ข้อ ต่อไปนี้

• แปลงเป็นเงินสดได้ง่าย
• อัตราผลตอบแทนต่ำ
• ความเสี่ยงต่ำ

สินทรัพย์สภาพคล่องสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย และมีอัตราผลตอบแทนต่ำ จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เราใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นง่ายขึ้นอีกด้วย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องระวัง

หลักการและทางเลือก การบริหารสภาพคล่อง (ที่ไม่ใช่แค่เงินสด)

หลักการการบริหารสภาพคล่อง

• ไม่น้อยจนขาดแคลน และไม่มากจนเสียโอกาสลงทุน
• เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว โดยที่มูลค่าเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

ทางเลือกการบริหารสภาพคล่อง
นอกจากเงินฝาก ไม่ว่าจะเป็นฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำแล้ว กองทุนรวมตลาดเงินยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการบริหารสภาพคล่อง เพราะแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย (T+1) ให้ผลตอบแทนเป็นรายวัน และมีความเสี่ยงต่ำ
เรียบเรียงบทความโดย boarddung.com
Scroll to Top