เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจจะใช้เงินเดือนชนเดือนกันจนเคยชิน ทำให้ไม่มีเงินออม ทั้งนี้เพราะแต่ละคนย่อมมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่แตกต่างกันออกไป

3 เทคนิคเพิ่มเงินออม ให้มีเงินเก็บในบัญชี

เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจจะใช้เงินเดือนชนเดือนกันจนเคยชิน ทำให้ไม่มีเงินออม ทั้งนี้เพราะแต่ละคนย่อมมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่แตกต่างกันออกไป และนอกจากค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่คุณต้องจ่ายกันอยู่แล้วทุกเดือน คุณอาจจะคิดไม่ถึงว่า ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณทำด้วยความเคยชินทุกวัน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณมีเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การดื่มกาแฟ ชานมไข่มุก การพบปะสังสรรค์ ค่าสมัครแอปสตรีมมิ่งที่สมัครไว้แต่อาจจะไม่ได้ดูจนคุ้ม เป็นต้น
รวมถึง การซื้อของที่ไม่จำเป็น ด้วยคติที่ว่า “ของมันต้องมี” ทำให้หลายคนมีพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตจนเกินความจำเป็น และหาทางออกด้วยการจ่ายค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำในทุกๆ เดือน ทำให้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจากหนี้บัตรเครดิตเพิ่มไปอีก และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังเผชิญสภาวะ วันนี้ เรามี 3 เทคนิคการบริหารเงินในแต่ละเดือน เพื่อให้คุณหลุดจากสภาวะใช้เงินเดือนชนเดือน และมีเงินเหลือเก็บมาฝาก

3 เทคนิคเพิ่มเงินออม ประกอบไปด้วย

1. เทคนิคบริหารเงินแบบ 20-50-30

1.1. เงินออม 20%
สูตรนี้ให้กันไว้ที่ 20% ของเงินเดือน หรือ หักเก็บ 20% ของรายได้ โดยมีข้อแม้ว่า เราต้องหักเงินส่วนนี้เก็บทันทีที่ได้รับมา เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉิน เป็นเงินเก็บระยะยาวไว้ใช้หลังเกษียณ หรือเป็นทุนที่เราจะใช้ทำตามความฝันตัวเอง เช่น เปิดร้านกาแฟ หรือเอาไว้ลงทุนสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม เช่น เป็นต้น

1.2. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการใช้ชีวิต 50%
หลังจากหักเงินออมแล้ว คุณควรกันเงินไว้ใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า โดยควรแบ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ที่ 50% ของเงินเดือน จะได้ไม่มีปัญหาเงินไม่พอใช้ตอนปลายเดือน

1.3. ความสุขส่วนตัว 30%
สำหรับคนที่อยากให้รางวัลตัวเองหลังเงินเดือนออก เราแนะนำให้คุณแบ่งเงินเพื่อใช้สำหรับความสุขส่วนตัวไว้ 30% ของเงินเดือน เอาไว้ใช้จ่ายเพื่อความสุขเล็กๆ น้อย ๆ ให้กับตัวเอง แต่ถ้าเดือนไหน มีค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉินเพิ่มขึ้นก็อาจลดส่วนของเงินก้อนนี้ลงได้ หรือถ้าเดือนไหนเงินส่วนนี้เหลือก็สามารถเอาไปสมทบกับก้อนของเงินออมก็ได้

2. เทคนิคปรับลดค่าใช้จ่าย

นอกจากการแบ่งส่วนการบริหารจัดการเงินตามข้างต้นแล้ว เราขอแนะนำเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้คุณปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ นั่นคือ

2.1. ออมก่อนใช้
หลายคนชอบคิดว่าเงินเก็บหรือเงินออม คือ เงินที่เหลือจากการใช้จ่าย (รายได้ – รายจ่าย = เงินออม) แต่จริงๆ นั่นคือความคิดที่ผิด เพราะเงินออมจะต้อง “เก็บก่อนจ่าย” ไม่ใช่ “จ่ายก่อนเก็บ”

2.2. จดบันทึกให้เป็นนิสัย
การจดบันทึกนอกจากจะช่วยย้ำเตือนให้เราทำตามแผนการเงินที่วางไว้แล้ว ยังทำให้เราพบ “ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย” ที่ทำให้เงินรั่วไหลออกจากกระเป๋าแบบไม่รู้ตัวอีกด้วย

2.3. ยั้งใจ 2 วัน ชั่งใจตัวเอง
หากคุณอยากซื้อของชิ้นใด อย่าเพิ่งรีบซื้อ วางคติ “ของมันต้องมี” ลงก่อน และเราอยากให้คุณลองหยุดคิดสัก 2-3 วัน ว่าของสิ่งนั้นมีความจำเป็นขนาดไหน แล้วจึงค่อยเวียนกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะถึงเวลานั้น คุณอาจจะไม่อยากซื้อของสิ่งนั้นแล้วก็ได้

2.4. หยุดใช้บัตรเครดิต “จ่ายล่วงหน้ากับสิ่งที่ยังไม่มีความจำเป็น”
แม้ว่าการใช้บัตรเครดิตอย่างถูกต้องจะเกิดความคุ้มค่าอย่างมาก ทั้งได้คะแนนสะสม มีระยะเครดิตที่ไม่ต้องชำระเงินก้อน แต่หากคุณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเกินความจำเป็น

ดังนั้น หากคุณไม่อยากตกอยู่ในวังวนภาระหนี้ที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้ เราแนะนำให้คุณ “คิดก่อนรูด” ทุกครั้ง และควรชั่งน้ำหนักให้ดีทุกครั้งก่อนรูดบัตรเครดิตว่า สิ่งของเหล่านั้นมีความจำเป็นหรือไม่? และสามารถรับผิดชอบยอดค่าบัตรเครดิตที่จะตามมาภายหลังได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้คุณสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างสบายใจ ไม่มีหนี้กองโตตามมาภายหลัง

2.5. ออมเงินแบบก้าวกระโดด
การออมเงินแบบก้าวกระโดด คือ การสร้างผลตอบแทนให้กับเงินออมของคุณนั่นเอง อาทิ การเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร การออมรูปแบบประกัน หรือจะเลือกออมเงินกับกองทุนต่างๆ เป็นต้น

3. เทคนิคเพิ่มเงินออม ให้มีเงินนอนในบัญชี

1. เพิ่มบัญชีเงินออมโดยเฉพาะ
เปิดบัญชีเงินออมแยกออกจากบัญชีที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ต้องเป็นบัญชีที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ โดยอาจเป็น หรือบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงที่มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น จำกัดจำนวนในการถอนต่อเดือน ซึ่งการแยกบัญชีจะทำให้เราไม่เผลอนำเงินออมมาใช้จ่าย และจัดการเงินได้อย่างมีระบบมากขึ้น

2. เพิ่มรายการโอนอัตโนมัติหลังได้รับเงินเดือน
เนื่องจากเงินออมถือเป็นเงินก้อนใหญ่ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน หรือเงินออมสำหรับใช้หลังเกษียณ จึงไม่สามารถเก็บได้ในครั้งเดียว เราอาจเพิ่มรายการโอนอัตโนมัติซึ่งทำได้จากแอปพลิเคชันใน Mobile Banking ให้โอนเงินจากบัญชีเงินเดือนไปยังบัญชีเงินออมทุกๆ เดือน โดยอาจเริ่มต้นที่ 10% ของเงินเดือน แล้วจึงค่อยๆ ปรับเป็น 20% หรือปรับตามความเหมาะสม และทยอยสะสมเงินออมจนครบตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้โดยที่ไม่ลำบากจนเกินไป

3. เพิ่มเงินคืนในบัญชีเงินออมหากมีการถอนไปใช้
หลายคนคุ้นเคยกับการยืมเงินตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร แต่เมื่อใช้เงินในบัญชีเงินออมไปแล้ว คุณจะต้องทยอยคืนเงินให้เต็มตามจำนวนเดิม เพื่อให้มีเงินสำรองฉุกเฉินพร้อมใช้งานเสมอ เพราะเหตฉุกเฉินในชีวิต อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน และถึงแม้เหตุร้ายจะยังไม่เกิดขึ้น ในชีวิต แต่การมีเงินออมไว้จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้

มาถึงตรงนี้คุณจะรู้ได้เลยว่า การลดค่าใช้จ่ายและการเก็บออมเงินนั้นทำได้ไม่ยากอย่างที่เคยคิด และการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงนั้นสามารถเริ่มต้นทำได้ทันที เพราะเมื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ เราก็จะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
และสำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหามีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หรือเงินเดือนไม่พอใช้เพราะต้องจ่ายหนี้บัตรเครดิต เราแนะนำให้คุณทำการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หรือ เพื่อลดภาระการผ่อนจ่ายหนี้ต่อเดือนให้ลดลง ลดความสับสนในการจ่ายค่าบัตรเครดิตแต่ละใบ ทั้งยังช่วยเสริมสภาพคล่อง ช่วยให้เก็บเงินได้มากขึ้นอีกด้วย
เรียบเรียงบทความโดย boarddung.com
Scroll to Top