เก็บเงินสำหรับเด็กจบใหม่ ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก ในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ รายได้ก็ไม่ได้เยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน

เก็บเงิน ฉบับเด็กจบใหม่ เริ่มอย่างไรให้ได้ตามเป้า!

เก็บเงินสำหรับเด็กจบใหม่ ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก ในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ รายได้ก็ไม่ได้เยอะมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาระที่ต้องรับผิดชอบอยู่ไม่น้อย ไหนจะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอยู่ค่ากิน บางคนต้องดูแลพ่อแม่ที่บ้านด้วย และยังต้องเก็บเงินเผื่อเหตุฉุกเฉิน และเพื่อเป้าหมายต่างๆ ในอนาคต แล้วเด็กจบใหม่ที่อยากมีเงินเก็บ ควรเริ่มเก็บเงินอย่างไรดี ถึงเหลือกินเหลือใช้ มีเงินออม และสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

เก็บเงิน ฉบับเด็กจบใหม่ เริ่มอย่างไรให้ได้ตามเป้า!

หากน้องๆ เด็กจบใหม่ อยากเริ่มเก็บเงินให้อยู่หมัด แต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มอย่างไรดี หันมาทางนี้เลยครับ วันนี้เรามีทริคไม่ลับ เป็นเคล็ดลับการเริ่มต้นเก็บเงิน หากทำได้ตามนี้ เก็บเงินอยู่ พร้อมมีเงินก้อนตามที่ตั้งใจแน่นอน ว่าแต่จะต้องเริ่มอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยครับ

1. จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย

การเก็บเงินให้ถึงเป้า ควรเริ่มที่เป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนครับ เพราะถ้าไร้เป้าหมาย เราก็จะเกิดความรู้สึกสงสัยว่า จะเก็บเงินไปเพื่ออะไร และท้อใจในการเก็บเงินไปได้ง่ายๆ แต่อีกหนึ่งปัญหาที่มักจะเจอหลังจากตั้งเป้าหมายแล้วก็คือ มีเป้าหมายเยอะเกินไป จนไม่รู้ว่าจะเริ่มที่อะไรดี เรามีแนวทางช่วยคิดอย่างนี้ครับ ให้ลองคิดว่า “ถ้าพรุ่งนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต อะไรที่เราอยากทำมากที่สุด” แล้วเราจะพบว่า สิ่งสำคัญจริงๆ จะเหลือแค่ไม่กี่อย่าง เมื่อจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายแล้ว ก็ให้เน้นเก็บเงินตามเป้าหมายเหล่านั้นเป็นอันดับแรกครับ

2. บันทึกรายรับ รายจ่าย

วิธีนี้อาจจะฟังดูยุ่งยากสักหน่อย แต่ขอบอกว่า เป็นวิธีที่ใช้แล้วได้ผลมากๆ คุ้มกับแรงและเวลาที่เสียไปจริงๆ ครับ หลายครั้งที่เรามักจะคิดว่า เราใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล แต่ความเป็นจริงแล้ว ถ้าลิสต์ออกมา อาจเจอรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต้องจ่ายก็ได้ อีกทั้งการจดรายรับ รายจ่าย จะช่วยให้เรามองเห็นชัดเจนว่า แต่ละเดือนเราใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง แต่รายได้มาเท่าไหร่ พอเห็นตัวเลขในทุกๆ วัน สิ่งนี้จะเป็นสิ่งเตือนใจให้เราใช้เงินอย่างมีสติมากยิ่งขึ้นครับ และใครรู้สึกว่าการเขียนนั้นยุ่งยาก ก็ลองหันมาใช้แอปพลิเคชั่นบันทึกรายรับ รายจ่าย ก็จะช่วยให้สะดวกสบายขึ้นเยอะ

3. ออมเงินอย่างน้อย 10%

การเก็บเงินให้อยู่และไปให้ถึงเป้าหมาย คือการออมเงินในสัดส่วนที่เหมาะสมไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ ที่รายได้ไม่ได้เยอะมาก อีกทั้งยังมีภาระที่ต้องรับผิดชอบ แต่การไม่เหลือเงินเก็บเลย ก็เสี่ยงทำให้ชีวิตพัง และมีความเสี่ยงได้ เพราะชีวิตของคนเราไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ต้องเจอกับอะไร การรู้จักเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ต้องเริ่มจัดสัดส่วนการออมเงินให้ถูกหลัก มีเงินเก็บ และมีเงินไว้ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ซึ่งสัดส่วนการออมที่เหมาะสมคือ ออมให้ได้อย่างน้อย 10% ของเงินเดือนครับ

4. ไม่ต้องรีบสร้างหนี้

ในช่วงวัยนี้อายุยังไม่เยอะ อย่าเพิ่งรีบก่อหนี้ อยากให้เน้นการทำงานเก็บเงินไปก่อนครับ บางคนอาจจะรู้สึกว่า ใครๆ เขาก็ซื้อบ้าน ซื้อรถกันเต็มไปหมด แต่ไม่ต้องห่วงครับ เพราะหนี้เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องรีบสร้าง บ้านกับรถซื้อเมื่อพร้อมจะดีกว่า เพราะถ้าต้องมาผ่อนหนี้ในแต่ละเดือนอีก จะยิ่งทำให้ขาดภาพคล่องการการเงิน จากที่จะเก็บเงินให้ได้เป็นก้อน กลายเป็นต้องเอารายได้ทั้งหมดมาจ่ายหนี้แทน เลยขอแนะนำว่า ในช่วง 5-10 ปีแรกของการทำงาน ควรเน้นสร้างชีวิตไปก่อน เพราะช่วงที่เริ่มเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบหาเงินเองได้นั้นมีความสำคัญมากๆ การสร้างหนี้ ก็เหมือนการสร้างภาระให้เราต้องแบกหนักขึ้น ทำให้การเก็บเงินเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ช้ากว่าเดิม

5. เรียนรู้เรื่องการเงิน

เราคงเคยได้ยินเรื่องการลงทุนก็มาค่อนข้างเยอะ หลายๆ คนบอกว่า ถ้าอยากมีเงินเหลือเก็บพร้อมให้เงินงอกเงยควรลงทุนด้วย แต่การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง จำเป็นต้องใช้ความรู้และความเข้าใจอย่างสูง ไม่ควรลงทุนเพราะใครๆ ก็บอกตามกันมา แต่ควรตัดสินใจลงทุนเมื่อเรามีความรู้เพียงพอแล้ว ซึ่งก่อนจะไปลงทุน หรือบริหารการเงินแบบอื่นๆ เราแนะนำว่าในช่วงวัยนี้เราควรหาเวลาเรียนรู้เกี่ยวกับการเงินแบบเจาะลึกครับ ยิ่งเข้าใจมากขึ้น ก็จะช่วยให้เราบริหารเงินเป็น และเก็บเงินได้อยู่หมัดมากกว่าที่เคย

สรุป

เก็บเงิน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เด็กจบใหม่ควรรีบทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเริ่มก่อน ย่อมถึงเป้าหมายได้เร็วกว่า แต่การเก็บเงินให้อยู่ในยุคสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถเก็บเงินให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ ด้วยการเริ่มเก็บเงิน ตามเคล็ดลับที่เราแนะนำได้เลยครับ
เรียบเรียงบทความโดย boarddung.com
Scroll to Top